วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่ 6






บทความ=Article

           เรื่อง  สอนลูกเรื่องพืชอ่านเพิ่ม
           เรื่อง เรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านนิทานสำหรับเด็กปฐมวัยอ่านเพิ่ม
           เรื่องแนวการสอนคิดเพิ่มวิทยาศาสตร์ให้เด็กอนุบาลอ่านเพิ่ม
เรื่องการทดลองวิทยาศสาตร์สนุกๆอ่านเพิ่ม

           สรุป - Summary
    
           กิจกรรมวันนี้เราสามารถนำไปประยุกต์กับวิชาอื่นได้ การที่ได้ประดิษฐ์สือวิทยาศาสตร์
เราสามารถนำไปใช้สอนเรื่่องอื่นได้
        
       กิจกรรม



         Equipment
  1. กระดาษ
  2. ไม้ลูกชิ้น
  3. สี
  4. กาว
  5. เทปกาว

   วิธีการทำ
นำกระดาษมาพับครึ่งแล้ววาดรูปที่มันสัมพันธ์กันลงที่กระดาษด้านล่ะรูปและระาบยสีให้สวยงาม
นำเทปกาวมาติดลงที่กลางกระดาษพร้อมไม้ลูกชิ้นทากาวติดทั้ง 2ข้าง

Knowledge
สามารถให้สื่อเป็นตัวกลางให้เด็กเรื่องรู้จักการประดิษฐ์ไม่ว่าเรื่องวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
ได้
 
Assessment
     
ประเมินตนเอง
-วันนี้ตั้งใจเรียนดี ทำสื่อได้น่ารัก
ประเมินเพื่อน
-วันนี้เพื่อนชวนการตอบถามได้ดีมาก ทำสื่อน่ารักกันทุกคน
ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์สอนสนุกมาก มีแนวการสอนที่ดี

วันอาทิตย์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2557

บันทึกครั้งที่ 5





  บทความ
เรื่อง การปรากฎการณ์ธรรมชาติสอนอย่างไร
เรื่อง วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

คลิกดุ

วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ

วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผลให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการ ผลจากการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างสะดวกสบาย เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เราได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ช่ายให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัว ความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของธรรมชาติทำให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ้นและพยายามที่เขียนอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล

เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถแสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถสังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุ พลังงานจากแม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถสำรวจลักษณะของน้ำและความร้อน สิ่งเหล่านี้ทำให้เด็กปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่องอื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทางสติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การสังเกต การจำแนกประเภท การเรียงลำดับ การวัด การคาดคะแน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์ เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถทำงานด้วยทักษะการแสวงหาความรู้ กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และพัฒนาการทางอารมณ์เช่นเด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ สภาพแวดล้อมและร่างกายมนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมีขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่มเติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการตั้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้วก็คือ การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั้นตอนเป็นระเบียบแบบแผนตั้งแต่สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ทำความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนนำไปสู่การกำหนดหลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้วสรุปเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็นทฤษฎีวิวัฒนาการ เป็นต้น
Katz and Chard (1986. อ้างอิงจาก Cliatt & Shaw. 1992 : 3-4 ) อธิบายวัตถุประสงค์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์ว่า ทำให้เกิดความรู้ ทักษะต่างๆ การจัดการและ ความรู้สึก ความรู้ประกอบด้วย ความคิด ข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอดและสารสนเทศ ทักษะประกอบด้วย พฤติกรรมทางร่างกาย สังคม การสื่อสารและการแสดงออกทางปัญญาเช่น การเล่นและการทำงานคนเดียวหรือกับคนอื่นๆ การแสดงความคิดผ่านภาษาโดยการพูดและการเขียน การจัดการกับกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์ประกอบด้วยลักษณะนิสัยการทำงานด้วยความอดทน ความอยากรู้อยากเห็น การลงมือแสวงหาความรู้ด้วยการทดลองตามที่ได้วางแผนไว้ สนับสนุนให้ได้มาซึ่งความรู้ อัญชลี ไสยวรรณ(2547 :1-6 )กล่าวเพิ่มเติมว่ากิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กเรียนรู้วิธีการเรียนและการสร้างความมั่นใจของเด็ก ลดความกลัวในสิ่งที่ยังไม่รู้ จะนำไปสู่ความรู้สึกประสบความสำเร็จ การสนับสนุนความอยากรู้ของเด็ก กิจกรรมวิทยาศาสตร์เพิ่มความสนใจและความอยากรู้อยากเห็นในการทำงานร่วมกันเพื่อหาคำตอบจากคำถามทางวิทยาศาสตร์

    กิจกรรมวิทยาศาสตร์ในห้องเรียนเด็กปฐมวัยมีความสำคัญหลายประการดังนี้

  1. ส่งเสริมการเห็นคุณค่าของตนเองและมีความกระตือรือร้น (คือเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้)
  2. ส่งเสริมการทำงานรายบุคคลและการคิดสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหาของเด็ก
  3. ยอมรับรูปแบบการเรียนรู้จากวัสดุอุปกรณ์ซึ่งจะช่วยสร้างประสบการณ์ที่เป็นธรรมชาติ การรับรู้และความพยายามของเด็กหลายคนจากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีความสำคัญต่อการรับรู้ชีวิต เรียนรู้ภาษาจากประสบการณ์การทำกิจกรรมวิทยาศาสตร์
  4. เพื่อเป็นการช่วยอธิบายความเข้าใจด้วยตัวเองของเด็ก
  5. ดูแลเอาใจใส่ต่อพฤติกรรมของเด็กที่ปรากฎ เช่น การแสดงความกังวลใจ เด็กที่เกิดความเบื่อ
  6. กิจกรรมการค้นพบช่วยให้ผู้เรียนสนใจใฝ่รู้ อยากสืบค้นต่อไป
  7. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพทางสติปัญญาของเด็กจากการเรียนรู้ที่เด็กได้สัมผัสกับวัสดุอุปกรณ์ ทำให้เด็กมีแรงจูงใจในการทำกิจกรรมที่มีความยากขึ้น เด็กได้เรียนรู้ภาษาและเนื้อหาสาระแบบบูรณาการ เช่น วิธีการได้รับประสบการณ์ทางภาษาแบบธรรมชาติต่อการอ่าน วิธีการสอนแบบโครงการต่อการพัฒนาหลักสูตร การใช้ประสาทสัมผัส และการใช้กล้ามเนื้ออย่างเหมาะสมกับวัย

แผนการสอน กลุ่มดิ  เรื่่องกล้วย




สรุป เรื่องแสง 



แสงเดินทางเป็นเส้นตรง มีวัถตุบางชนิดที่แสงเดินผ่านทะลุไปได้แสงมี3แบบ
แบบที่1 วัตถุโปร่งแสง(translucent) แสงจะทะลุผ่านไปได้แค่บางส่วนเราจึงมองเห็นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังวัถตุโปร่งแสงไม่ชัดเจน เช่น กระจกฝ่า พลาสติดขุ่นๆ
แบบที่2 วัตถุโปร่งใส (transparent) แสงทะลุผ่านได้ทั้งหมดเราจึงมองเห้นสิ่งต่างๆที่อยู่ข้างหลังได้ชัดเจน เช่น กระจกใส พลาสติกใส
แบบที3วัตถุทับแสง จะดูดกลืนแสงที่เหลือไว้และจะสะท้อนแสงที่เหลือเข้าสู่ตาเรา เช่น ไม้ หิน เหล็ก หรือตัวเรา



เครื่องฉายภาพนิ่ง กล้องรูเข็ม(Pinhole) การที่เห็นภาพกลับหัวก็เพราะแสงส่วนบนของภาพวิ่งเป็นเส้นตรงผ่านรูเล็กๆมาตกกระทบด้านล่างของกระดาษไข(stencil paper)และส่วนล่างของภาพวิ่งผ่านตรงรูเล็กๆมาตกกระทบที่ด้านบนของกระดาษภาพที่เห็นจึงเป็นภาพกลับหัว(invert)ถามีรูที่กล่องหลายๆรูก็จะเห็นภาพหลายภาพ

กล้องคาไลโดสโคป(Kaleidoscope) นำกระจกเงา3บานมาประกลบกันให้เป็นทรงกระบอกสามเหลี่ยมและเมื่อเราส่องก็จะเห็นภาพหลายๆภาพสะท้อนออกมามีการสอนสะท้อนแสงและมุมลบของกระจกเมื่อแสงเมื่อแสงตกกระทบในกระบอกสามเหลี่ยมมาก็สะท้อนมาในนั้นจึงเกิดภาพมากมาย 

หลักการสะท้อนแสงมาใช้ประโยชน์ใช้ในการหาวัถตุที่ไม่สามารถมองเห็นในที่สูงๆได้เราเรียกกล้องส่องภาพระดับสายตาหรือกล้องเพอริโคป โดยเราจะมองเห็นเพราะแสงจากวัตถุจะผ่านมาทางช่องบนที่เราเจาะไว้มากระทบบนกระจกแผ่นเงาบนแล้วสะท้อนแผ่นเงากระจกล่างมาสู่ตาเรา
การหักเหของแสงจะเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่การหักเหทำให้เห็นภาพที่หลอกตาแต่การหักเหมีประโยชน์ทำเลนLensแผ่นแก้วหรือแผ่นกระจกที่ถูกทำให้แผ่นน่านูนออกมาเพื่อใช้ประโยชน์ในการขยายภาพและยังใช้ร่วมเส้นทางเดินของแสงได้และยังจุดไฟ

การหักเหของแสงนอกจากจะช่วยให้เรามองเห็นได้ชัดเจนแล้วยังทำให้มองเห็นวิวและแสงสีสวยๆเช่นเวลาเราเห็นน้ำกิรรุ้งบนท้องฟ้า รุ้งกินน้ำเกิดจากการหักเหของแสงเหมือนกันแสงที่เราเห็นสีขาๆนั้นประกอบด้วย7สี  ม่วง คราม น้ำเงิน เขียว เหลือง แสด แดง เมื่อสีทั้ง7เมื่อรวมกันจะกลายเป็นสีขาวเวลาฝนตกใหม่ๆจะมีละอองน้ำในอากาศและเมื่อแสงผ่านละอองน้ำเหล่านั้นก็จะเกิดการหักเหของแสงเราเรียกว่าแถบสเปกตรัม(spectrum)หรือรุ้งกินน้ำRainbow




Evaluate

ปะเมินเพื่อน

เพื่อนๆตั้งใจเรียนดี
ประเมินตนเอง
วันนี้นำเสนอบทความได้ ดีอาจจะมีการตอบคำถามบ้าง

บันทึกครั้งที่ 4







บทความ
เรื่อง จุดประเด็นเด็กคิดนอกกรอบ "กิจกรรมสนุกคิดกับของเล่นวิทยาศาสตร์" 
 เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนใจวิทยาศาสตร์
เรื่อง ทำอย่างไรให้ลูกสนจวิทยาศาสตร์
เรื่อง วิทย์-คณิตศาสตร์ สำคัญอย่างไรกับอนาคตของชาติ
เรื่อง เมื่อลูกน้อยเรียนรู้วิทย์-คณิตศาสตร์จากเสียงดนตรี บูรณาการวิทยาศาสตร์ 
เรื่อง การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับ


ความหมายของวิทยาศาสตร์
   วิทยาศาสตร์ หมายถึง การศึกษาสืบค้นและจัดระบบความจริงเกี่ยวกับธรรมชาติโดยอาศัยกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยศาสตร์ที่ประกอบด้วย วิธีการทักษะกระบวนการและเจตคติทางวิทยาศาสตร์อย่างมีระบบแบบแผน มีขอบเขตโดยอาศัยการสังเกต การทดลองเพื่อค้นหาความเป็นจริงและทำให้ได้มาซึ่งความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป 
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยศาสตร์
1.การเปลี่ยนแปลง
2. ความแตกต่าง
3. การปรับตัว
4. การพึ่งพาอาศัยกัน
5. ความสมดุล

การศึกษาทางวิทยาศาสตร์
1. ขั้นกำหนดปัญหา
2. ขั้นตั้งสมมติฐาน
3. ขั้นรวบรวมข้อมูล
4.ชั้นข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ 
1. ความอยากรู้อยากเห็น
2. ความเพียรพยายาม
3. ความเหตุผล
4. ความซื่อสัตย์
5. ความมีระเบียงและรอบคอบ
6. ความใจกว้าง

การนำไปใช้
วันนี้ได้ความรู้เรื่องวิทยาศาสตร์มากขึ้นและเราสามารถนำหลักการนี้ไปใช้ในการเรียนการสอน

Evaluate

ประเมินตนเอง
วันนี้ตั้งใจเรียนสาม่รถนำรู้ที่ไปใช้ได้
ประเมินเพื่อน
เพื่อนตั้งใจเรียนดีแต่มีการคุยกันอยู่

บันทึกครั้งที่ 3

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี  19  สิงหาคม  2557     ครั้งที่ 3

                 
           
เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


                     
บทความ
                                  เรื่อง วิทยาศาสตร์และการทดลองสำหรับเด็ก              
เรื่อง ภาระกิจตามหาใบไม้
 เรื่อง การแยกเมล็ดพืช       
เรื่อง เจ้าลูกโป่ง


กิจกรรมวันนี้
อาจารย์เปิดบล้อคให้ดู และให้คำแนะนำการทำบล้อค
อาจารย์ได้อธิบายคุณลักษณะตามวัยของเด็ก3-5ปีที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546



ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย



 Evaluation

ประเมินเพื่อน
มีการคำตอบดี มีความพร้อมในการเรียน ดี
ปรัเมินตนเอง
มีความพร้อมในการเรียนดีมีการตอบคำอาจจะมีผิดบ้างถูกบ้าง

บันทึกครั้งที่ 2


วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี   1   กันยายน 2557     ครั้งที่ 2
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.

เวลาเลิกเรียน   12.20 น.


วันนี้อาจารย์ได้เปิดพาวเวอร์พ้อยต์ที่เกี่ยวกับรูปภาพของเด็กปฐมวัยที่สื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์  การตอกไข่  เด็กจะได้สัมผัสของจริง  และเด็กจะได้สังเกตได้ทดลองทำจริงๆกระสาทสัมผัส เช่น ตา -ดู    หู - ฟัง   ลิ้น- ชิม   กาย  - สัมผัส   จมูก - สูดดมการเล่นตามมุม เด็กจะได้ทักษะต่างๆในแต่ล่ะมุม และเด็กเกิดการเรียนรู้ของแต่ละมุมที่ได้จัดไว้


วิทยาศาสตร์เกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันทุกวัน

- คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
- ภาษา
การเรียนรู้  การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม  คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตนเอง คือความพยายาม  เช่นนี้  ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น เป็นคนช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากกว่าผู้ใหญ่จะให้คำตอบ


ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้

 - สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนมาใช้พัฒนาการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้-  สามารถได้สร้างบล็อกได้ถูกต้อง


Evaluate

ประเมินตนเอง  

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจฟังอาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน  

แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียนทุกคน

บันทึกครั้งที่1

วิชา การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์  จินตนา  สุขสำราญ 
             
  วัน/เดือน/ปี  19 สิงหาคม  2557     ครั้งที่ 1
                 
เวลาเข้าสอน  08.00 น.    เวลาเรียน 08.30  น.


           
เวลาเลิกเรียน   12.20 น.

วันนี้อาจารย์ได้เแจกเอกสารแนวการสอน  และได้อธิบาย ความสำคัญ แนวคิดและหลักทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา และหลักการทางวิทยาศาสตร์ และทำข้อตกลงภายในห้องเรียน

              -แต่งกายให้ถูกระเบียบ เรียบร้อย

             -ไม่เข้าเรียนสาย ต้องเข้าเรียนให้ตรงเวลา

             
หลังจากการศึกษารายวิชานี้ผู้เรียนมีพฤติกรรมดังนี้
  1. มีความซื้อสัตย์ สุจริต และเสียสละ
  2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
  3. มีสัมมาคารว่ะให้ความเคารพต่อครู อาจารย์ และผู้อาวุโส
  4. ปฎิบัติตนสอดคล้องกับจรรยาบรรณครูปฐมวัย

2.ด้านความรู้ 
   
     -สามารถอธิบายหลักการ ความสำคัญ ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับทักษะทางวิทยาศาสตร์ได้
     -สามารถอธิบายสาระการเรียนรู้และทักษะทางวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยได้
     -ออกแบบและเขียนแผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     -วิเคราะห์และเลือก  สื่อ อุปกรณ์ในการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยตลอดจนการจัดสภาพ แวดล้อม (มุมประสบการณ์)ได้อย่างเหมาะส
   

3.ด้านทักษะทางปัญญา

  -คิดและวางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
  -ประยุกต์ความรู้เพื่อนนำไปใช้ในการออกแบบและวางแผนการจัดประสบการณ์วิทยาศาส    สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างสร้างสร้างสรรค์
  -ประเมินปัญหาการจัดประสบการณ์ทางภาษา สำหรับเด็กปฐมวัยและสืบค้นข้อมูลจากแหล่งเรียนรู้

4.ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
    
      -ใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร และนำเสนอได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
     -ให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ และแก้ไขเมื่อพบปัญหา

     -แสดงบทบาทผู้นำ และผู้ร่วมทีมทำงานได้อย่างเหมาะสม

     - รับผิดชอบในผลงานของตนเองและงานกลุ่ม



5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
    
      -มีทักษะการใช้เครื่องมือที่จำเป็นในปัจจุบันเพื่อการศึกษาค้นคว้า และเรียนรู้         ประสบการณ์ในการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก ปฐมวัยได้
       -สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งด้านการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน 

     
6.ด้านการจัดการเรียนรู้
   
 -วางแผน ออกแบบ ปฏิบัติการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพ      ของผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม

   -เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรง เช่น การศึกษากรณีตัวอย่างจากห้องเรียน การสังเกตการ     สอนแบบต่างๆ


แผนการจัดการเรียนรู้
  1. แนวการสอน การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กกปฐมวัย
    2. การสร้างบล็อกมีองค์ประกอบดังนี้ 

     ชื่อและคำอธิบายบล็อก
      
      - รูปและข้อมูลผู้สอน
      - ปฎิทินและนาฬิกา
      - เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน หน่วยงาน สนับสนุน แนวการสอน งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์     บทความ  สื่อ  ( เพลง เกม นิทาน แบบฝึกหัด  ของเล่น )  
 3.  แนวทางการเขียนอนุทินเพื่อบันทึกหลังเรียน

ความรู้ที่จะนำไปประยุกต์ใช้

 - สามารถนำความรู้ที่อาจารย์สอนมาใช้ในการพัฒนาความรู้เกี่ยวกับงานวิจัยได้
 - สามารถสร้างบล็อกได้ถูกต้อง ตามที่อาจารย์สอน


Evaluate

ประเมินตนเอง
  
แต่งกายเรียบร้อย  ตั้งใจเรียน มารยาทดี พูดจาไพเราะ

ประเมินเพื่อน 

แต่งกายเรียบร้อย  สะอาด  ตั้งใจเรียน  มารยาทงาม


สาระเพิ่มเติม

มคอ. มาตรฐานการศึกษาระดับอุดมศึกษา